การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)

การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น (non-probability sampling) ทำให้ประชากรทั้งหมดไม่มีโอกาสถูกเลือกให้เป็นตัวอย่างโดยเท่าเทียมกัน เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างเพื่อความสะดวก และการเลือกตัวอย่างวิธีนี้อากเป็นเพราะผู้วิจัยไม่ทราบจำนวนประชากร หรือไม่สามารถประมาณขนาดของประชากรได้ชัดเจน

การสรุปผลจากตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง สามารถสรุปถึงลักษณะ พฤติกรรมต่างๆ ว่ามีอย่างไร มีอะไรบ้าง ไม่สามารถสรุปเป็นเชิงปริมาณได้ และไม่สามารถใช้สถิติในการอ้างอิงค่าพารามิเตอร์หรือทดสอบสมมติฐานได้

ข้อเสียของการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง

  1. เนื่องจากเป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (non-probability sampling) จึงอาจทำให้เกิดความเอนเอียง (Bias) อาจทำให้ได้ตัวอย่างที่ไม่ดี ประสิทธิภาพของตัวอย่างขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้วิจัย
  2. เมื่อไม่ได้ใช้ความน่าจะเป็นในการสุ่ม ทำให้ทุกหน่วยของประชากรไม่ได้รับการถูกเลือกเป็นตัวอย่าง
  3. จากข้อข้างต้น จึงมีความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถใช้สถิติในการอ้างอิงค่าพารามิเตอร์หรือทดสอบสมมตฐานได้ (ไม่สามารถนำผลจากตัวอย่างไปอ้างอิงประชากรทั้งหมดได้)

ทำไมจึงมักพบบ่อยในงานวิจัยในชั้นเรียน

  1. เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่ง่าย ตามที่ผู้วัจัยต้องการ หรือตรงตามห้องเรียนที่สอน โดยไม่ต้องสุ่มห้องเรียน หรือสุ่มนักเรียนทั้งหมด
  2. โรงเรียนที่มีจำนวนห้องเรียนเพียงห้องเดียว ผู้วิจัยไม่รู้ว่าต้องสุ่มอย่างไร
  3. การตั้งประชากรที่ใหญ่ ทำให้ไม่สะดวกในการทำวัจัย เลยเลือกสถานที่ทำงานหรือพื้นที่ใกล้เคียง
  4. ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา

แค่ครูสอนคณิตศาสตร์คนหนึ่งที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *